วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โลกาภิวัตน์


ความหมายของโลกาภิวัตน์

การให้ความหมายของโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ความหมายของโลกาภิวัตน์ก็เป็นปัญหาในการให้ความหมายในตัวของมันเอง และด้วยเหตุนี้จึงมีบ่อยครั้งที่การใช้คำว่าโลกาภิวัตน์มีการใช้อย่างคลาดเคลื่อนอย่างไม่ระมัดระวังตามความเข้าใจของผู้ที่ใช้

Jan Aart Scholte (2000: 15-17) ได้ประมวลออกมาว่านักวิชาการมีการใช้คำว่า Globalization ซ้ำซ้อนกับแนวความคิดทางวิชาการอย่างน้อย 5 แนวความคิด ซึ่งเป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นในวงวิชาการทางรัฐศาสตร์ การระหว่างประเทศ ทางเศรษฐศาสตร์ และ ทางสังคมศาสตร์ก่อนหน้านี้

1. การใช้โลกาภิวัตน์ ซ้ำซ้อนกับปรากฎการณ์การ Internationalization (ซึ่งในที่นี้ จะใช้คำว่า กระบวนการระหว่างประเทศ) ซึ่งแนวความคิดนี้ไม่ใช่เรื่องเพียงในวงการศึกษาของรัฐศาสตร์ภาคการระหว่างประเทศ แต่มีปรากฎการณ์ตามแนวคิดที่เกิดขึ้นหลากหลายที่เป็นอิทธิพลของปรากฎการณ์นี้ อาทิ Colonization, Westernization, Industrialization, McDonolization, Americanization เป็นต้น ที่เป็นแนวความคิดของเรื่องของกระบวนการระหว่างประเทศและการข้ามพรมแดนของรัฐชาติ กระบวนการเหล่านี้ แน่นอนที่สุดว่า มีการใช้ในลักษณะที่เป็นคำเหมือนของโลกาภิวัตน์ที่ปรากฎในงานหลายชิ้น

2.ในทางเศรษฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การเมืองมีการใช้คำว่า Globalization ในฐานะคำเหมือนของ Liberalization หรือเสรีนิยม ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า เสรีนิยมเป็นแนวความคิดทางวิชาการที่มีมาอย่างนมนาน พัฒนาควบคู่กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่พัฒนามาพร้อมกันกับกระบวนการปฎิวัติอุตสาหกรรมที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 แนวความคิดของเสรีนิยมเป็นการต่อสู้เรียกร้องการลดบทบาทของรัฐโดยมีความเชื่อว่า อำนาจรัฐเป็นตัวสะกัดกั้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มันมีระบบของความสมดุลในตัวของมันเอง ดังนั้นรัฐจึงทำหน้าที่สะกัดกั้นการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และ จำเป็นต้องเปิดพื้นที่หรือพยายามลดอาณาบริเวณอำนาจรัฐที่คอยขวางกันของความเป็นอิสระของการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจโดยพยายามลดกฎระเบียบทางการค้าและการลงทุนต่างๆ แน่นอนที่สุดว่า มีนักวิชาการไม่น้อยที่มีการเชื่อว่า economic globalization ก็คือ Neo-liberalism หรือ เสรีนิยมใหม่นั่นเอง

3.ในทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ Globalization มีความหมายถึงกระบวนการทำให้เป็นสากล(หรือที่เราเข้าใจในแนวความคิดของUniverzalization) ซึ่งในความเป็นจริงโลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่ทำให้มวลมนุษยชาติเกิดการลดความแตกต่างอันเกิดจากพื้นที่และการสื่อสาร ที่ทำให้เราเสมือนอยู่ในโลกที่เล็กลง ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการสื่อสารและเกิดความเป็นสากล หรือลดความแตกต่างของคนและสังคมในแต่ละท้องที่ที่ห่างไกลกัน

4. Globalization ในฐานะ Westernization (การทำให้เป็นตะวันตกนิยม) และ Modernization (การทำให้เป็นสมัยใหม่) ในวงการการรัฐศาสตร์นั้นแนวความคิดการทำให้ทันสมัยมาพร้อมกับอิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตกในยุโรป ที่ขับเคลื่อนอิทธิพลตะวันตก ให้เป็นวัฒนธรรมของโลกที่ทันสมัย การแผยแพร่และการผลักดันมาพร้อมกับกำลังความก้าวหน้าทางเทดโนโลยี ที่เป็นกำลังในการครอบงำกึ่งบังคับในรูปของลัทธิล่าอาณานิคม (colonialism) หลังจากการล่าอาณานิคม ประเทศต่างๆที่ไม่มีอำนาจในการต่อกรก็ต้องรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองเศรษฐกิจ ซึ่งการปรับเปลี่ยนที่ทันสมัยในสมัย ศตวรรษที่ 19 คือ การปฎิรูประบบราชการ และ การวางรากฐานการพัฒนาทุนนิยม และรวมถึงการปลูกรากฐานระบบคิดแบบเหตุผล และ วิทยาศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่า กระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีการขยายตัวแผ่กว้างเป็นปรากฎการณ์ระหว่างประเทศ และอาจถูกมองว่าเป็นมิติที่มีกระบวนการคล้ายการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคโลกาภิวัตน์

5.Globalizationคือกระบวนการการลดพื้นที่ชายขอบทางอำนาจของรัฐ(Deterritorialization) การพิจารณาบทบาทของกระบวนการ Globalization ที่ทำให้เกิดการปรับตัวของอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดแนวคิดภูมิภาคนิยม (regionalism) และท้องถิ่นนิยม (localism) ตลอดจนการปรับตัวทางการเมืองของโครงสร้างเหนือรัฐ (supra-territoriality) การปรับตัวดังกล่าวเป็นการปรับตัวของรัฐที่จะเผชิญกับอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ เพื่อการอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ ซึ่งความสัมพันธ์ทางสังคมมีการเชื่อมตัวกันอย่างเข้มข้นและชัดเจนมากขึ้นกว่าที่เคยเกิดมา อันเป็นผลจากการเชื่อมโยงของความสัมพันธ์ทางสังคมอื่นๆ ที่มีความห่างไกล (Giddens 1990:64) ความสัมพันธ์ที่อยู่ห่างไกลมีการลดลงด้วยกระบวนการโลกาภิวัตน์ ที่เป็นตัวทำให้สภาพทางภูมิประเทศ พื้นที่ ชายแดน (territorial borders) ไม่กลายเป็นข้อจำกัดของแรงของอิทธิพลของความสัมพันธ์ทางสังคมด้วยกระบวนการโลกาภิวัตน์

อย่างไรก็ดี Scholte (2000) ได้ถกว่า เราไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะใช้คำว่า Globalization แทนที่แนวความคิดทางวิชาการอย่างการใช้กระบวนการระหว่างประเทศ(internationalization)ที่มีความหมายเทียบเท่ากับ Globalization หรือมีการใช้ globalization มีความหมายเทียบเท่ากับกระบวนการสากลนิยม (univerzalization) ตลอดจนเราไม่มีความจำเป็นที่จะเข้าใจGlobalization ในฐานะกระบวนการทำให้เป็นสมัยใหม่ (modernization) หรือ กระบวนการของการเปลียนแปลงตามแรงและอิทธิพบของลัทธิล่าอาณานิคม( colonialism )และ จักรวรรษนิยม (imperialism)
แม้ว่า แน่นอนที่สุด โลกาภิวัตน์จะเป็นเรื่องที่น่าคิดว่ามีความแตกต่างจากกระแสแนวความคิดของกระบวนการระหว่างประเทศ( internationalization), กระบวนการสากลนิยม ( universalization), กระบวนการทำให้เป็นสมัยใหม่( modernization) แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า เป็นการยากที่จะมีการฟันธงว่า โลกาภิวัตน์มีความแตกต่างจากกระบวนการ อย่างกระบวนการระหว่างประเทศ( internationalization), กระบวนการสากลนิยม ( universalization), กระบวนการทำให้เป็นสมัยใหม่( modernization)อย่างสิ้นเชิง 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น